การเกิดฟ้าผ่า

          " ฟ้าผ่า "  เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทางธรรมชาติ โดยเริ่มจากการก่อตัวของเมฆ ฟ้าผ่า

      (Cumuionimbus Cloud) ที่มีทั้งประจุบวกเเละลบในก้อนเมฆเมื่อมีการสะสมของประจุเพิ่มมากขึ้น

      ก็จะทำให้ศักดาไฟฟ้าระหว่างก้อนเมฆกับพื้นดินมีการพัฒนาเพิ่มสูงขึ้นจนถึงจุดสูงสุดที่ทำให้เกิดการ

      ถ่ายเทประจุไฟฟ้าปริมาณมหาศาลระหว่างก้อนเมฆกับพื้นดินที่เรียกว่า  " ฟ้าผ่า "

      อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก (Surge Arrester)

                การป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าโดยการติดตั้งระบบเสาล่อฟ้าเเละสายดินจะสามารถป้องกัน

      ได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากความต้านทานดินที่เกิดขึ้นตอนปักเเท่งกราวด์ลงในดินอาจจะระบาย

      ศักย์ไฟฟ้าปริมาณมหาศาลไม่ทันทำให้มีเเรงดันส่วนหนึ่งไหลย้อนเข้าไปในระบบเเละทำความเสียหาย

      กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้

               ดังนั้นเพื่อการป้องกันจึงควรติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก (Surge Arrester) เพิ่มเข้าไป

      ในระบบเพื่อป้องกันไฟกระโชกจากฟ้าผ่าเเละจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ไฟกระโชกจากการปลดสับ

      Capacitor Bank, เกิดความผิดปกติของระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้า, สัญญาณรบกวนทางไฟฟ้า, 

      การเปิด-ปิดสวิทช์อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก เป็นต้น

 

 

 

            อุปกรณ์ชนิดนี้ได้รับการออกเเบบให้สามารถเหนี่ยวนำเรงดันไฟฟ้าที่สูงขึ้นในช่วงเวลาอันสั้นออก

  จากอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยสร้างเเนวที่มีความต้านทานต่ำเชื่อมต่อไปสู่ตำเเหน่งของสายดินเพื่อให้เเรงดันที่สูง

  ขึ้นชั่วขณะไหลตามเเนวความต้านทานต่ำนั้นไปยังสายดิน โดยเราสามารถเเบ่งระดับการป้องกันความเสีย

  หายจากฟ้าผ่าออกเป็น 5 Class ดังนี้

  1. การป้องกัน Class A

             เป็นการป้องกันในส่วนที่อยู่ภายนอกอาคารเพื่อป้องกันผลกระทบที่เกิดจากฟ้าผ่าลงสายไฟฟ้า

  โดยตรงซึ่งโดยปกติเเล้วกาไฟฟ้าฯ หรือผู้จำหน่ายไฟฟ้าจะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดตั้ง Surge Arrester

  Lighting Arrester เพื่อไม่ให้เกิดเเรงดันไฟฟ้ากระโชกเข้าไปใน Line ของผู้ใช้ไฟฟ้า

  2. การป้องกัน Class B

             มักจะติดตั้งไว้ในตู้ Main Distribution Board (MDB) ภายในอาคารเพื่อป้องกันเเรงดันไฟฟ้า

  กระโชกที่เข้ามาใน Main Line ที่เกิดจากฟ้าผ่าโดยตรงหรือฟ้าผ่าลงที่เสาส่งซึ่ง  Surge Arrester

  Class A ไม่สามารถระบายออก (discharge) ได้หมด

  3. การป้องกัน Class B+C

             มักจะติดตั้งไว้ในตู้ Sub Main Distribution Board (SDB) ภายในอาคารจะเป็นส่วน

  Downstrean จาก Class B เพื่อป้องกันความเสียหายจากเเรงดันไฟฟ้ากระโชกให้กับระบบรวมทั้งอุปกรณ์

  ภายในอาคารด้วย

           4. การป้องกัน Class C

                      มักจะติดตั้งไว้ในตู้  Sub Main Distribution Board (SDB) ภายในอาคารเพื่อป้องกันเเรงดัน

           ไฟฟ้ากระโชกที่เข้ามาใน Main Line ซึ่งเป็นการครอบคลุมการป้องกันทั้ง Class B+C เหมาะกับระบบที่ไม่

           ทราบถึงความเเรงของคลื่นฟ้าผ่าที่จะเกิดขึ้นอย่างเเน่นอนเเละเหมาะสำหรับป้องกันความเสียหายอุปกรณ์

           ภายในอาคารด้วย

           5. การป้องกัน Class D

                      มักจะติดตั้งไว้ในตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าย่อยเป็นการป้องกันเเรงดันไฟฟ้ากระโชกที่เข้ามาใน Main-

            Line ที่ Class C ไม่สามารถระบายออก (disccharge) ได้หมดเหมาะสำหรับป้องกันความเสียหายให้

            อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ค่อนข้าง sensitive เช่น โฮมเธียเตอร์ เครื่องเสียงโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งเป็น

            จุดสุดท้ายของการป้องกันที่สามารถป้องกันความเสียหายจากเเรงดันไฟฟ้าเกิน (overvoltage) ที่เกิด

            จากฟ้าผ่าได้อย่างสมบูรณ์