สวิทช์บอร์ด (Switchboard)     

                  เป็นเเผงจ่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่นิยมใช้ในอาคารขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรม

     ที่มีการใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก โดยรับไฟจากการไฟฟ้าหรือด้านเเรงต่ำหม้อเเปลงจำหน่ายเเล้วจ่ายโหลดไปยังเเผง

     ย่อยตามส่วนต่างๆของอาคาร สวิทช์บอร์ดอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Main Distribution Board (MDB) ตู้ MDB

     ส่วนมากมีขนาดใหญ่จึงมักวางบนพื้น มีหลายเเบบให้เลือกใช้ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต ทั้งนี้ ควรพิจารณาจากระดับ

     เเรงดันพิกัดกระเเสเเละพิกัดกระเเสลัดวงจรด้วย

     ส่วนประกอบหลักของสวิทช์บอร์ด

             1.โครงตู้ (Enclosure)

             2. บัสบาร์ (Busbar)

             3. เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)

             4. เครื่องวัดไฟฟ้า (Meter)

     ข้อเเนะนำในการใช้บัสบาร์

             1. บัสบาร์ควรวางในเเนวดิ่งจึงจะระบายความร้อนได้ดี

             2. บัสบาร์เเบบ Flat ควรขนานกันไม่เกิน 4 เเท่ง ถ้ามากกว่านี้จะมีปัญหาเรื่อง Skin Effect

             3. บัสบาร์เเบบทาสี สีที่ใช้ทาเคลือบบัสบาร์ควรมีสัมประสิทธิ์การระบายความร้อนสูงประมาณ 0.9

             4. บัสบาร์เเบบทาสีนำกระเเสได้สูงกว่าบัสบาร์เเบบเปลือย

             5. กำหนดให้ใช้สีเเดง เหลือง น้ำเงิน สำหรับเฟส R, Y, B ตามลำดับ

             6. การเรียงเฟสในสวิทช์บอร์ด (R, Y, B) ให้เรียงจากด้านหน้าไปยังด้านหลังตู้จากบนลงล่างหรือ

     ซ้ายไปขวา

             7. การเรียงเฟสลักษณะอื่นอนุญาตเฉพาะการเชื่อมต่อกับระบบที่มีอยู่เเล้วเเต่ต้องทำเครื่องหมายให้ชัดเจน

     

 

      โครงตู้ (Enclosure)

               ทำมาจากเเผ่นโลหะประกอบเป็นโครงตู้ซึ่งอาจเปิดได้เฉพาะด้านหน้าหรือเปิดได้ทุกด้านขึ้นอยู่กับการออก

       เเบบ โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญ

               1. คุณสมบัติทางกล คือรับเเรงทางกลจากภายนอกได้เพียงพอต่อการใช้งานทั้งภาวะปกติเเละไม่ปกติ

               2. คุณสมบัติทางความร้อน คือทนความร้อนจากสภาพเเวดล้อมความผิดปกติในระบบเเละอาร์คจากการ

       ลัดวงจรได้

               3. คุณสมบัติต่อการกัดกร่อน คือสามารถทนการกัดกร่อนจากความชื้นเเละสารเคมีได้

               นอกจากนี้โครงตู้ยังทำหน้าที่ป้องกันอันตรายต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้คือ

       a. ป้องกันไม่ให้ผู้อยู่ใกล้สวิทช์บอร์ดสัมผัสถูกส่วนที่มีไฟ

       b. ป้องกันอุปกรณ์ภายในตู้จากสิ่งต่างๆภายนอกเช่น น้ำ วัตถุเเข็ง สัตว์เลื้อยคลาน เป็นต้น

       c. ป้องกันอันตรายจากการอาร์คที่รุนเเรงจนชิ้นส่วนอุปกรณ์อาจหลุดกระเด็นออกมา

       บัสบาร์ (Busbar)

               มีทั้งชนิดที่ตัวนำทำด้วยทองเเดงเเละอลูมิเนียมรูปร่างของบัสบาร์ที่นิยมใช้กันทั่วไปเป็นเเบบ Flat  คือ

       มีพื้นที่หน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื่องจากติดตั้งง่ายระบายความร้อนดี เเบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

              1. บัสบาร์เเบบเปลือย

              2. บัสบาร์เเบบทาสี

 

 

       เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)

               สำหรับสวิทช์บอร์ดเเรงต่ำ เบรกเกอร์ที่ใช้ทั่วไปมี 2 เเบบ คือ Air Circuit Breaker เเละ Mold Case

       Circuit Breaker โดย ACB. ใช้เป็นเมนเบรกเกอร์ในวงจรที่ใช้กระเเสสูงส่วน Mold Case CB (MCCB)

       ใช้กับวงจรย่อย หรือใช้เมนเบรกเกอร์ในตู้สวิทช์บอร์ดขนาดเล็กทั้งนี้การเลือกเบรกเกอร์ควรพิจารณาขนาด

       ความกว้าง ยาว สูง เพื่อให้ติดตั้งในตู้ได้อย่างเหมาะสมสวยงาม ค่ากระเเส IC รวมถึงการจัด

       Co-ordination ด้วย

       เครื่องวัดไฟฟ้า (Meter)

               เครื่องวัดพื้นฐานที่ใช้ในตู้สวิทช์บอร์ดทั่วไปคือ โวลต์มิเตอร์เเละเเอมป์มิเตอรืซึ่งต่อใช้งานร่วมกับ

       Selector Switch เพื่อวัดเเรงดันหรือกระเเสในเเต่ละเฟสพิกัด เเรงดันของโวลต์มิเตอร์คือ 0-500V.

       ส่วนพิกัดกระเเสของเเอมป์มิเตอร์จะขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของ Current Transformer เช่น 100/5A.

       เป็นต้น

               สำหรับตู้สวิทช์บอร์ดขนาดใหญ่อาจมี P.F. Meter, Watt Meter หรือ Var Meter เพิ่มเติม

       ขึ้นอยู่กับการออกเเบบตู้ บางตู้ก็อาจติดตั้ง P.F. Controller เพื่อควบคุมค่า Power Factor

       ในวงจรด้วย

       อุปกรณ์ประกอบ (Accessories)

                อุปกรณ์ประกอบในตู้สวิทช์บอร์ดมีหลายตัว ได้เเก่

               1. Current Transformer (CT) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการวัดกระเเสไฟฟ้าโดยต่อร่วมกับเเอมป์

       มิเตอร์ CT ที่มีใช้ในท้องตลาดจะมี 2 กลุ่ม คือ อัตราส่วนต่อ 1 เเละอัตราส่วนต่อ 5 ที่ใช้ในตู้สวิทช์บอร์ดนิยม

       ใช้อัตราส่วนต่อ 5 เช่น 50/5, 100/5, 300/5 เป็นต้น ปกติจะเลือก CT ตามขนาดของเมนเบรกเกอร์ โดย

       เลือกไม่ต่ำกว่าพิกัดของเมนเบรกเกอร์ เช่น เมนเบรกเกอร์ที่มีขนาด 100A. ก็จะเลือก CT ขนาด 100/5A.

       ข้อควรระวังในการใช้ CT คือห้ามเปิดวงจรด้าน Secondary ของ CT เนื่องจากจะเกิดเเรงดันสูงตกคร่อมขด

       ลวดเเละทำให้ CT ไหม้ได้หาก

       ไม่ใช้งานต้องลัดวงจรขั้วทั้งสองของ CT เสมอ

                  2. Selector Switch โดย Ammeter Selector Switch จะใช้ร่วมกับ CT เเละ Panel -

        Ammeter เพื่อวัดกระเเสในตู้สวิทช์บอร์ด ส่วน Voltmeter Selector Switch จะใช้ร่วมกับ Panel -

        Voltmeter เพื่อวัดเเรงดันภายในตู้ การต่อวงจรให้ดูจากไดอะเเกรมที่มาพร้อมกับอุปกรณ์เพราะเเต่ละยี่ห้อก็

        อาจมีวิธีการต่อที่เเตกต่างกัน

                   3. Pilot Lamp เป็นหลอดที่เเสดงสถานการณ์ทำงานเพื่อบอกให้รู้ว่ามีไฟจ่ายเข้ามายังตู้สวิทช์

        บอร์ด หรือไม่ Pilot Lamp มี 2 เเบบ คือ

        3.1 เเบบมีหม้อเเปลงเเรงดัน

        3.2 เเบบไม่มีหม้อเเปลงเเรงดัน

        เเบบมีหม้อเเปลงเเรงดันจะลดเรงดันให้ต่ำลงเพื่อให้เหมาะสมกับเเรงดันหลอด เช่น 220/6.3V. เป็นต้น

                   4. Fuse ฟิวส์เป็นอุปกรณ์ใช้ป้องกันวงจรเครื่องวัดไฟฟ้าเเละหลอด Pilot Lamp

                          5. ฉนวนรองบัสบาร์ เป็นฉนวนรอบรับบัสบาร์ โดยด้สนหนึ่งยึดติดกับโครงตู้สวิทช์บอร์ด อีกด้าน

         หนึ่งยึดบัสบาร์ไว้มีหลายชนิดให้เลือกใช้เหมาะสมกับบัสบาร์เเต่ละเเบบ