เมื่อระบบไฟฟ้ามีค่า Power Factor (P.F) ต่ำจะส่งผลให้ความสามารถในการจ่ายไฟฟ้า (capacity) ของ

     หม้อเเปลงลดลงเเละถ้าความสามารถในการจ่ายไฟฟ้าให้กับโหลดของหม้อเเปลงใกล้เต็มเเล้วก็จะทำให้ไม่สามารถ

     จ่ายไฟฟ้าให้กับโหลดไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นได้เเม้ว่ากำลังไฟฟ้า (kW) ที่ใช้อยู่จะยังไม่เต็มก็ตาม 

             นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้ใช้ไฟฟ้าใช้สายไฟยาวมากก็จะทำให้เกิดกระเเสไฟฟ้าไหลในสายไฟมีค่าสูงขึ้นเเละ

     ความร้อนในสายเพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดค่าสูญเสีย (losses) ตามขนาดของกระเเสยกกำลังสองเเละที่สำคัญผู้ใช้

     ไฟฟ้าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มให้กับการไฟฟ้าคือค่า reactive power (kVAR charge) ในส่วนที่ต่ำกว่า

     มาตรฐาน 0.85 อีกด้วย

 

 

               

 ดังนั้นเพื่อควบคุมค่า P.F. ในโรงงานไม่ให้ต่ำกว่า 0.85 จึงต้องมีการติดตั้ง Capacitor Bank มีขนาดไม่

 น้อยกว่าหรือเท่ากับ 30% ของขนาดหม้อเเปลงไฟฟ้าเเละต้องสัมพันธ์กับลักษณะโหลดทางไฟฟ้าที่ใช้อยู่ คือ 

           - ถ้าเป็น lnductive load เช่น induction motor ขนาดของ Capacitor Bank อาจจะต้องเพิ่มขึ้น

           - ถ้าเป็น Resistive load เช่น เครื่องทำความร้อนขนาดของ Capacitor Bank อาจจะต้องลดลง

 

 

หน้าที่หลักของ Capacitor Bank

1. ปรับปรุงเพาเวอร์เเฟคเตอร์โดยการจ่ายกำลังไฟฟ้ารีเเอคทีฟให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น มอเตอร์ เครื่องทำ

ความร้อน เครื่องเชื่อมไฟฟ้า เป็นต้น

2. เเก้ปัญหาฮาร์โมนิกส์โดยการติดตั้งคาปาซิเตอร์อนุกรมกับรีเเอคเตอร์ซึ่งเรียกรวมกันว่า ฟิลเตอร์เเบงค์

(Filter Bank)

3. เเก้ปัญหาไฟกระพริบ ไฟกระเพื่อมโดยการใช้ไทริสเตอร์ (Thyrister) ในการตัดต่อคาปาซิเตอร์ทำให้สามารถ

จ่ายไฟฟ้ารีเเอคทีฟได้อย่างรวดเร็ว

        ข้อดีของ Capacitor Bank ต่อระบบไฟฟ้า

1. ช่วยลดค่าปรับจากการไฟฟ้าเนื่องจากค่า Power Factor ต่ำกว่า 0.85

         กรณีที่ระบบไฟฟ้าของผู้ใช้มีค่า P.F. ต่ำการไฟฟ้าจะต้องรับภาระในการจ่าย reactive power เป็นจำ

นวนมากต้องใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้นรวมทั้งทรัพยากรที่มากขึ้นเพื่อที่จะสามารถผลิตกำลังไฟฟ้า

ทั้งในส่วน Active เเละ Reactive Power ตามความต้องการของผู้ใช้เเต่ที่จริงเเล้ว reactive power

ผู้ใช้สามารถสร้างเองได้โดยใช้ capacitor ดังนั้นการไฟฟ้าจึงบอกกฎเพื่อควบคุม P.F. ของโรงงานต่างๆ

2. ช่วยลดโหลดข้องหม้อแปลง

          เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้ามีเพิ่มปริมาณโหลดขึ้นเรื่อยๆกับหม้อเเปลงตัวเดิมจะส่งผลให้หม้อเเปลงต้องจ่ายกระเเสเกิน

(Overload) ทางเเก้ไขวิธีหนึ่งคือติดตั้งหม้อเเปลงต้องรับภาระจ่ายค่า Reactive Power เองทั้งหมดถ้ามีการ

ติดตั้ง Capacitor Bank ก็จะช่วยรับภาระในส่วนนี้เเทนทำให้หม้อเเปลงตัวนั้นมีกำลังเหลือเฟือที่จะจ่ายให้กับโหลด

ส่วนอื่นๆ เพิ่มเติมได้

3. ช่วยลดค่าไฟฟ้าที่สูญเสียไปในรูปของความร้อนในสายไฟเเละหม้อเเปลง

          การติดตั้ง Capacitor Bank จะช่วยลดกำลังสูญเสียในสายไฟเเละหม้อเเปลงไฟฟ้า จึงเป็นการประหยัด

พลังงานอีกทั้งยังลดความร้อนที่เกิดขึ้นในอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆได้เเต่ว่าในประเทศไทยนิยมติดตั้งตู้ Capacitor -

Bank ติดกับตู้ MDB หรือก็คือใกล้กับหม้อเเปลงมากจึงทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ในการช่วยลดประมาณกระเเส

ไฟฟ้าที่ไหลในระบบไฟฟ้าได้อย่างชัดเจน