ระบบไฟฟ้าที่ใช้กันทั่วไปตามบ้าน หลอดไฟเเละอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าโดยทั่วไปในบ้านเราใช้

    ไฟฟ้ากระเเสสลับระบบ 1 เฟส (1-phase) 2 สาย เเรงดัน 220 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตช์โดยสาย

    ไฟ 2 สายที่ใช้กันตามบ้านนี้ สายหนึ่งจะมีกระเเสไฟฟ้าไหลอยู่หรือเรียกว่าสายเคอร์เรนต์ (current

    line) ส่วนอีกสายหนึ่งจะเป็นสายที่เดินเฉยๆ ไม่มีกระเเสไฟฟ้าไหลอยู่หรือเรียกว่าสายนิวทรัล (ne-

    utral line) ดังจะเห็นได้จากปลั๊กไฟตามบ้านที่เห็นมีช่องเสียบอยู่ 2 ช่องนั้นถ้าเอาไขควงสำหรับ

    ตรวจกระเเสไฟฟ้าลองวัดดูจะเห็นได้ว่าช่องหนึ่งจะมีไฟเเดงปรากฏ เเสดงว่าไม่มีกระเเสไฟฟ้าไหล

    ผ่าน เเต่เมื่อเวลาใช้งานกับหลอดไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าจำเป็นต้องใช้ร่วมกันทั้ง 2 สายเพื่อให้กระเเส

    ไฟฟ้าครบวงจรส่วนบางเเห่งที่เห็นปลั๊กไฟมี 3 ช่องนั้นยังเป็นระบบไฟฟ้าเเบบ 1 เฟสเหมือนกันเเต่

    ช่องที่เพิ่มขึ้นมานั้นเป็นช่องที่ต่อกับสายดิน (ground) เพื่อให้กระเเสไฟฟ้าไหลลงดินเวลาเกิดไฟรั่ว

    เป็นการเพิ่มความปลอดภัยเเละปลั๊กของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะใช้กับระบบสายดินนี้จะเป็นปลั๊กเเบบ 3 ขา

    ซึ่งในต่างประเทศถือเป็นระบบมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไป

 

 

ระบบไฟฟ้า 3 เฟสเป็นระบบไฟฟ้ากระเเสสลับ 3 เฟส (3-phase) 4 สายเเรงดัน 380 โวลต์

ความถี่ 50 เฮิรซ์ โดยที่ 3 สายจะเป็นสายที่มีกระเเสไฟฟ้าไหลผ่าน โดยทั่วไประบบไฟฟ้า 3 เฟส

เป็นระบบที่ไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องจักรต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ เพราะเครื่องจักรเหล่า

นี้มักมีขนาดใหญ่จึงต้องการเเรงดันไฟฟ้าสูง ไฟฟ้าระบบนี้ไม่สามารถนำมาใช้กับระบบเเสงสว่างหรือ

อุปกรณ์ไฟฟ้าตามบ้านได้โดยตรง มาถึงตรงนี้หลายคนคงจะสงสัยว่าเมื่อระบบไฟฟ้า 3 เฟสไม่

สามารถนำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ตามบ้านได้โดยตรงเเล้วจะเอามาเเนะนำกันเพื่ออะไร ข้อสงสัย

นี้สามารถอธิบายได้โดยไม่ยาก กล่าวคือ การนำระบบไฟฟ้า 3 เฟสเข้ามาใช้ในบ้านนั้นมิได้เป็นการใช้

ไฟฟ้าทั้ง 3 เฟสกับอุปกรณ์ไฟฟ้าเเต่ละชิ้นโดยตรง เเต่เป็นการนำไฟฟ้า 3 เฟสนั้นมาเเบ่งเเยกให้เป็น

ระบบไฟฟ้า 1 เฟส 3 ชุด เเล้วกระจายไปตามจุดต่างๆ ที่มีการใช้ไฟฟ้า การกระจายจุดของการใช้งาน

เช่นนี้ทำให้ไฟฟ้าเเต่ละเฟสไม่ถูกใช้งานมาก ถือเป็นการเฉลี่ยการใช้ไฟฟ้าทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้า

เพราะการคิดอัตราค่าใช้ไฟฟ้าซึ่งมีหน่วยเป็นกิโลวัตต์ ชั่วโมงจะคิดเป็นอัตราก้าวหน้า กล่าวคือยิ่งมี

การใช้ไฟฟ้ามากก็จะยิ่งเสียค่าไฟฟ้าในอัตราที่สูงขึ้น ฉะนั้นการกระจายการใช้ไฟฟ้าออกเป็น 3 ส่วน

จากระบบไฟฟ้าที่นำเข้า 3 เฟสดังกล่าวจึงทำให้การใช้ไฟฟ้าในเเต่ละส่วนหรือเเต่ละเฟสน้อยลง จึงไม่

ต้องเสียค่าไฟฟ้าในอัตราที่สูง

 

   การนำระบบไฟฟ้า 3 เฟสมาใช้นั้นจะเสียค่าใช้จ่ายในตอนต้นค่อนข้างสูง เช่น ค่าติดตั้งค่า

  ประกันการใช้ไฟฟ้า เเต่สามารถประหยัดค่าใช้ไฟฟ้าได้ในระยะยาว ฉะนั้นบ้านหรืออาคารที่ติดตั้ง

  ระบบไฟฟ้าดังกล่าวจึงควรเป็นบ้านหรืออาคารที่ค่อนข้างใหญ่ มีการใช้ไฟฟ้าหลายจุดเเละเป็น

  ปริมาณมากจึงจะคุ้ม ถ้าเป็นบ้านหรืออาคารที่มีขนาดเล็กเเละมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าไม่มากควรติด

  ตั้งระบบไฟฟ้าเฟสเดียวก็เพียงพอ อย่างไรก็ตามการเลือกว่าใช้ไฟฟ้าระบบไหนเเละใช้มิเตอร์ไฟ

  ฟ้าขนาดเท่าใดนั้นจำเป็นจะต้องปรึกษาผู้มีความรู้ทางด้านนี้โดยตรง ซึ่งอาจจะเป็นวิศวกรไฟฟ้า

  ผู้รับเหมา หรือช่างไฟฟ้า โดยที่เจ้าของบ้านเองก็ต้องวางเเผนเกี่ยวกับปริมาณไฟฟ้าที่ต้องใช้เอา

  ไว้ว่าต้องการใช้ไฟฟ้ามากน้อยเเค่ไหน โดยอาจจะกะปริมาณจากจำนวนดวงไฟรวมทั้งประเภท

  เเละจำนวนของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่คาดว่าต้องการจะใช้เพื่อจะได้เลือกระบบไฟฟ้าเเละขนาด

  ของมิเตอร์ไฟฟ้าที่จะติดตั้งได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

         โดยปกติขนาดของมิเตอร์ไฟฟ้าที่จะขอติดตั้งได้จะมีขนาด 5(15), 15(45), 30(100)

  เเละ 50(150) เเอมเเปร์ ซึ่งเป็นระบบไฟฟ้าเฟสเดียวตัวเลขที่อยู่ด้านซ้ายนอกวงเล็บหมายถึง

  กระเเสไฟฟ้าปกติสำหรับการใช้งานของระบบไฟฟ้าขนาดนั้นๆ ส่วนตัวเลขด้านขวาที่อยู่ภายในวง

  เล็บ หมายถึงกระเเสไฟฟ้าสูงสุดที่ระบบไฟฟ้าสามารถทนได้ เช่น มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15(45)

  เเอมเเปร์ หมายความว่าขนาดของระบบไฟฟ้าที่ติดตั้งไว้สามารถรับการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้า

  ต่างๆ โดยรวม 15 เเอมเเปร์อย่างปลอดภัยภายใต้สภาวะการใช้งานตามปกติ เเต่จะสามารถทน

  กระเเสไฟฟ้าสูงสุดได้ถึง 45 เเอมเเปร์ในบางครั้งบางคราวเป็นระยะเวลาสั้นๆ เช่น ในขณะที่เปิด

  เครื่องปรับอากาศใหม่ๆ เครื่องปรับอากาศจะกินกระเเสไฟฟ้ามากกว่าปกติถึงเเม้ว่ากระเเสไฟฟ้าที่

  ใช้โดยรวมในช่วงเวลานั้นอาจจะสูงเกินกว่าระดับปกติ เเต่ถ้าเป็นเพียงระยะสั้นๆ ก็จะไม่ก่อให้เกิด

  ปัญหาต่อระบบไฟฟ้าหรือการใช้ไฟฟ้าเเต่ประการใด โดยปกติถ้าเป็นบ้านขนาดเล็กที่มีการติดตั้ง

  ดวงไฟเเละปลั๊กไฟเพียงไม่กี่จุดอาจใช้มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15(15) เเอมเเปร์ก็เพียงพอถ้ามีเครื่อง

  ปรับอากาศ 1-2 เครื่องก็อาจใช้มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15 (45) เเอมเเปร์ เเต่ถ้าเป็นบ้านที่มีการใช้

  ไฟฟ้ามาก เช่น มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศหลายเครื่องก็อาจจะต้องใช้มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 50

  (150) เเอมเเปร์ หรือบ้านที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้ามากขึ้นไปอีกก็ควรจะพิจารณาขอติดตั้งระบบไฟ

  ฟ้า 3 เฟสซึ่งระบบดังกล่าวจะทำให้ได้ไฟฟ้าที่มีขนาด 3 เท่าของไฟฟ้าระบบเฟสเดียวตามขนาดตัว

  เลขเเอมเเปร์ข้างต้นเป็นจำนวน 3 ชุดนั่นเอง เช่น ถ้าติดตั้งระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย 30(100)

  เเอมเเปร์ 380 โวลต์ 1 ชุดก็เทียบเท่ากับติดตั้งระบบไฟฟ้า 1 เฟส 2 สาย 30(100) เเอมเเปร์

  220โวลต์ 3 ชุดนั่นเอง
  

 

 

 

การติดตั้งระบบไฟฟ้า 3 เฟสนั้นมีข้อสังเกตเเละข้อควรระวังบางประกล่าวคือ เนื่องจาก

  ระบบไฟฟ้า 3 เฟสที่นำมาใช้จะถูกเเยกให้กลายเป็นระบบไฟฟ้าเฟสเดียว 3 ชุดเพื่อนำมาใช้

  งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าตามจุดต่างๆ ถ้าไฟฟ้าเเต่ละสายที่เเยกไปใช้งานตามจุดต่างๆ นั้นมีปริ-

  มาณการใช้งาน (load) ที่สมดุลกันหรือใกล้เคียงก็ย่อมจะเป็นการประหยัดค่าไฟฟ้าได้ดีเเต่

  ถ้าปริมาณการใช้งานในเเต่ละสายไม่สมดุลกันหรือเเตกต่างกันมาก สายที่มีปริมาณการใช้งาน

  สูงก็จะเสียค่าไฟฟ้ามาก เนื่องจากต้องเสียค่าไฟฟ้าในอัตราที่สูงขึ้นโดยคิดในอัตราก้าวหน้า

  ตามปริมาณการใช้ไฟฟ้าทำให้ค่าไฟฟ้าโดยส่วนรวมพลอยสูงขึ้นไปด้วยอย่างเช่น การที่สายไฟ

  สายหนึ่งถูกนำไปใช้กับเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องทำน้ำร้อนหลายๆเครื่อง ในขณะที่อีกสอง

  สายถูกนำไปใช้กับดวงไฟเเละปลั๊กไฟเพียงไม่กี่จุดเช่นนี้เเล้วสายที่มีปริมาณการใช้งานสูงก็จะ

  ทำให้ต้องเสียค่าไฟฟ้าในอัตราที่สูงเเละยังอาจก่อให้เกิดปัญหาของการใช้ไฟฟ้าดังกล่าวเพื่อให้

  ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในเเต่ละสายเฉลี่ยใกล้เคียงกันหรือสมดุลกันจะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพใน

  การใช้งานป้องกันไม่ให้สายไฟบางสายต้องรับภาระในการใช้งานมากเกินไปทำให้เกิดความปลอด

  ภัยในการใช้งานเเละช่วยให้สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าอย่างได้ผลดีอีกด้วย

         อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญเเละควรต้องระวังอย่างยิ่งก็คือ การเเยกระบบไฟฟ้า 3 เฟสออก

  เป็น 3 ชุด เพื่อนำไปใช้งานตามจุดต่างๆนั้นสายไฟเเต่ละคู่ที่เดินไว้สำหรับการใช้งานตามจุด

  ต่างๆนั้นต้องเป็นระบบไฟฟ้าเฟสเดียวเท่านั้น นั่นคือสายไฟเเต่ละคู่ที่เดินเเยกออกมาจะต้องมี

  สายไฟเพียงเส้นเดียวเท่านั้นที่มีกระเเสไฟฟ้าไหลอยู่ส่วนอีกเส้นหนึ่งจะต้องไม่มีกระเเสไฟฟ้า

  เป็นอย่างนี้คู่กันเสมอเเละจะต้องไม่เดินสายที่มีกระเเสไฟฟ้าไหลอยู่ทั้ง 2 เส้นคู่กันเป็นอันขาด

  เพราะจะทำให้เเรงดันไฟฟ้า ณ จุดนั้นกลายเป็น 380 โวลต์ ซึ่งจะมีผลทำให้ดวงไฟเเละอุปกรณ์

  ไฟฟ้าต่างๆ ที่ใช้งาน ณ จุดนั้นเกิดการชำรุดเสียหายเเละยังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้อีก

  ด้วยฉะนั้นหลังจากการเดินสายไฟภายในบ้านควรมีการทดลองสายไฟที่เดินไว้ตามจุดใช้งานทุก

  จุดอย่างถี่ถ้วนว่าเป็นระบบไฟฟ้าเฟสเดียวเพื่อป้องกันปัญหาเเละอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้