ตู้สวิทซ์บอร์ด หรือ ตู้ MDB (Main Distribution Board)

           ตู้ MDB เป็นตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลัก หลักการทำงานของตู้ MDB คือ การรับไฟที่ส่งมาจากการไฟฟ้า

        หรือ ต้านเเรงดันต่ำของหม้อเเปลงไฟฟ้าเเล้วจึงจ่ายโหลดไปยังส่วนต่างๆ ของอาคาร เเละมี Main Circuit

        Breaker คอยเป็นตัวตัดต่อวงจรไฟฟ้าทั้งหมดมีเเผงจ่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่ โดยปกติใช้กันในอาคารที่มีขนาด

        กลางขึ้นไป รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้ไฟในปริมาณมาก

        ส่วนประกอบภายในของ ตู้สวิทซ์บอร์ดมีรายละเอียดดังนี้

      โครงตู้สวิทซ์บอร์ด (Enclosure)

               ทำมาจากเเผ่นโลหะประกอบเป็นโครงตู้ ซึ่งอาจเปิดได้เฉพาะด้านหน้า หรือเปิดได้ทุกด้านขึ้นอยู่กับ

         การออกเเบบโดยมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ

               1. คุณสมบัติทางกล คือรับเเรงทางกลจากภายนอกได้เพียงพอต่อการใช้งาน ทั้งภาวะปกติ เเละไม่

         ปกติได้

               2. คุณสมบัติทางความร้อน คือทนความร้อนจากสภาพเเวดล้อม ความผิดปกติในระบบเเละอาร์กจาก

          การลัดวงจร

               3. คุณสมบัติต่อการกัดกร่อน คือสามารถทนการกัดกร่อนจากความชื้นเเละสารเคมี รวมทั้งผลกระทบ

          จากสิ่งต่างๆ ภายนอกได้

          บัสบาร์ (Busbar)

             บัสบาร์ (Busbar) มีทั้งชนิดที่ตัวนำทำด้วยทองเเดงเเละอลูมิเนียม รูปร่างของบัสบาร์ที่นิยมใช้กัน

           ทั่วไปเป็นเเบบ Flat คือมีพื้นที่หน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื่องจากติดตั้งง่าย ระบายความร้อนดี

           เเบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ บัสบาร์เเบบเปลือย เเละบัสบาร์เเบบทาสี

           เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) 

             เซอร์กิตเบรกเกอร์ สำหรับตู้สวิทซ์บอร์ดเเรงต่ำ เบรกเกอร์ที่ใช้ทั่วไปมี 2 เเบบ คือ Air CB ใช้เป็น

           เมนเบรกเกอร์ในวงจรที่ใช้กระเเสสูงเเละ Mold Case CB ใช้กับวงจรย่อยหรือใช้เป็นเมนเบรกเกอร์ใน

           ตู้สวิทซ์บอร์ดขนาดเล็ก

           เครื่องวัดไไฟ้า สำหรับตู้สวิทซ์บอร์ด (Meter)

                เครื่องวัดพื้นฐานที่ใช้ในตู้ MDB ทั่วไป คือโวลต์มิเตอร์เเละเเอมมิเตอร์ ซึ่งต้องใช้งานร่วมกับ Selector

           Switch เพื่อวัดเเรงดันหรือกระเเสในเเต่ละเฟส พิกัดเเรงดันของโวลต์มิเตอร์ คือ 0-500V. ส่วนพิกัดกระ

           เเสของเเอมมิเตอร์จะขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของ Curren Transformer สำหรับตู้สวิทซ์บอร์ดขนาดใหญ่อาจ

           มี P.F.Meter, Watt Meter หรือ Var Meter เพิ่มเติมขึ้นอยู่กับการออกเเบบตู้บางตู้ก็อาจติดตั้ง P.F.

           Controllerเพื่อควบคุมค่า Power Factor ในวงจรด้วย

 

 

   อุปกรณ์ประกอบ สำหรับตู้สวิทซ์บอร์ด (Accessories) มีหลายตัว ได้เเก่

   1. Current Transformer (CT) สำหรับตู้สวิทซ์บอร์ด

 

 

   อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการวัดกระเเสไฟฟ้าโดยต่อร่วมกับเเอมมิเตอร์ ที่ใช้ในตู้สวิทซ์บอร์ดนิยมใช้

  อัตราส่วนต่อ 5 เช่น 50/5, 100/5, เป็นต้น ปกติจะเลือก CT ตามขนาดของเมนเบรกเกอร์ โดยเลือก

  ไม่ต่ำกว่าพิกัดของเมนเบรกเกอร์ ข้อควรระวังในการใช้ CT คือ ห้ามเปิดวงจรด้าน Secondary ของ

  CT เนื่องจากจะเกิดเเรงดันสูงตกคร่อมขดลวด เเละทำให้ CT ไหม้ได้หากไม่ใช้งานต้องลัดวงจรขั้วทั้ง

  สองของ CT เสมอ

  2. Selector Switch สำหรับตู้สวิทซ์บอร์ด

       โดย Ammeter Selector Switch จะใช้ร่วมกับ CT เเละ Panel Ammeter เพื่อวัดกระเเสในตู้

  สวิทซ์บอร์ดส่วน Voltmeter Selector Switch จะใช้ร่วมกับ Panel Voltmeter เพื่อวัดเเรงดันภายใน

  ตู้การต่อวงจรดูจากไดอะเเกรมที่มาพร้อมกับอุปกรณ์ เพราะเเต่ละยี่ห้ออาจมีวิธีการต่อที่เเตกต่าง 

            3. Pilot Lamp สำหรับตู้สวิทซ์บอร์ด

 

 

   เป็นหลอดที่เเสดงสถานการณ์ทำงาน เพื่อบอกให้รู้ว่ามีไฟจ่ายเข้ามายังตู้สวิทซ์บอร์ดหรือไม่

Pilot  Lamp มี 2 เเบบ คือ เเบบมีหม้อเเปลงเเรงดัน เเละเเบบไม่มีหม้อเเปลงเเรงดัน เเบบมีหม้อ

เเปลงเเรงดันจะลดเเรงดันให้ต่ำลง เพื่อให้เหมาะสมกับเเรงดันหลอดเช่น 220/6.3V. เป็นต้น

   4. Fuse สำหรับตู้สวิทซ์บอร์ด

          ฟิวส์เป็นหลอดเเก้วใช้ป้องกันวงจรเครื่องวัดไฟฟ้าเเละหลอด Pilot Lamp

 

5. ฉนวนรองบัสบาร์ สำหรับตู้สวิทซ์บอร์ด

        เป็นฉนวนรองรับบัสบาร์ โดยด้านหนึ่งยึดติดกับโครงตู้สวิทซ์บอร์ดอีกด้านยึดบัสบาร์ไว้มีหลาย

ชนิดให้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับบัสบาร์เเต่ละเเบบ

ตู้เเผงควบคุมไฟฟ้ารอง หรือ SDB,DB (Sub Distribution Board)

       ตู้ควบคุมไฟฟ้ารอง จ่ายกระเเสไฟฟ้าไปตามตู้ PB. (Panel board) หรือ Load Center

หลายๆตู้ขึ้นอยู่กับขนาดของอาคารลักษณะคล้ายกับ ตู้สวิทซ์บอร์ดเเต่มีขนาดเเละพิกัดของตู้เล็ก

กว่า เเละอุปกรณ์ทางไฟฟ้าภายในก็ลดหลั่นลงมา

LP (Load Panel) หรือเเผงควบคุมไฟฟ้าย่อย

         ใช้ควบคุมส่วนของวงจรไฟฟ้าย่อยในห้องที่ต้องการควบคุม Load Panel หรือในส่วนที่ต้อง

การควบคุมจะมี Circuit breaker หลายตัววางเรียงกันอยู่ในกล่องส่งผลให้มีขนาดเล็ก ในบาง

อาคารอาจใช้ Load Panel ควบคุมเเทน SDB

Load Panel เเบ่งได้ดังนี้

         1) Load Panel 3 Phase เรียกว่า Load Center,LP

หรือ PB เป็นเเผง Circuit breaker ที่ควบคุมการจ่ายกระเเสไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ มี

หลายขนาดขึ้นอยู่กับจำนวนของ Load

         2) Load Panel 1 Phase เรียกว่า Consumer Unit

เป็นเเผงไฟฟ้าสำเร็จรูปนิยมใช้ในบ้านหรือสำนักงานขนาดเล็กที่ใช้ไฟฟ้าระบบ 1 เฟส 220 โวลท์

ตู้ MCC (Motor Control Center)

       หมายถึงตู้เเบบตั้งพื้นที่ประกอบไปด้วยตู้เเนวตั้งเเละเป็นที่รวมของชุดควบคุมมอเตอร์ โดย

ชุดควบคุมมอเตอร์จะติดตั้งเหนือชุดควบคุมมอเตอร์อื่นๆ ในเเนวตั้งเเละชุดควบคุมมอเตอร์เหล่านี้

จะมีบัสในเเนวตั้งที่ต่อเข้ากับบัสกำลังในเเนวนอน

ตู้ PFC (Power-factor-Correction)

       ในระบบไฟฟ้ากำลังการปรับปรุงค่าเพาเวอร์เเฟคเตอร์ มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจาก

เป็นตัวที่ทำให้ค่าใช้จ่ายต่างๆ เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ระบบไฟฟ้าที่มีค่าเพาเวอร์เเฟคเตอร์ต่ำจะมี

ความสูญเสียในระบบมากดังนั้น อุปกรณ์ที่นำมาใช้งานจำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้ค่าใช้จ่าย

ในการซื้ออุปกรณ์ต่างๆ เพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นการปรับปรุงค่าเพาเวอร์เเฟคเตอร์ให้มีค่าสูงขึ้นจึงมี

ความจำเป็นต่ออาคารสำนักงานเเละโรงงานอุตสาหกรรมนั้นๆ ความเป็นจริงในอาคารหรือโรงงาน

อุตสาหกรรมต้องการกำลังไฟฟ้าจริง (Real Power) เเละกำลังไฟฟ้ารีเเอคทีฟ (Reactive-

Power) เพื่อใช้ในการทำงาน

Console and Control Desk

      สำหรับใช้ในห้องควบคุมเครื่องจักรส่วนกลางมีวงจรการทำงานเเสดงสถานะการทำงานของ

เครื่องจักรในส่วนต่างๆ จะเเสดงสถาะอย่างเดียวหรือให้สั่งการด้วยก็ได้